วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

3 g

  3G หรือ Third Generation  เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต


      3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น
      ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น
      เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยี
      3G น่าสนใจอย่างไร
      จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่
      เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น
      3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว “Always On”
      คุณสมบัติหลักของ 3G คือ 
      มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล
     ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC


                         ปัญหาของ 3 g ในประเทศไทย
1. ปัญหาทางด้านความไม่สอดคล้องทางกฎหมาย
พรบ เก่ามี 2 องค์กรจัดสรร แต่รัฐธรรมนูญใหม่ระบุให้มี 1 เท่านั้น
แต่เดิมการจัดสรรกิจกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทยใช้ระบบสัมปทานซึ่งมีองค์กรที่ผูกขาดในประเทศไทยเพียง 2 องค์กรเท่านั้นนั่นคือ TOT ( ได้รับค่าสัมปทานการใช้คลื่นความถี่จาก AIS ) และ CAT ( ได้รับสัมปทานการใช้คลื่นความถี่จาก DTAC และ TRUE) ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเน้นการตรวจสอบโดยหน่วยงานอิสระของรัฐซึ่งจัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติในมาตรา 40 และทำให้เกิด พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 อันนำมาซึ่ง การกำเนิดขององค์กรอิสระที่ชื่อว่า กทช (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ส่วน กสช.นั้นมีปัญหาเรื่องการคัดสรรทำให้ไม่สามารถจัดตั้งขึ้นได้ ( เกิดกรณี NGOs ฟ้องร้องในเรื่องดังกล่าวเนื่องจากมีตัวแทนจากสถานีโทรทัศน์ในสังกัดของฝ่ายความมั่นคงเข้าร่วมเป็นกรรมการ ทำให้อาจไม่เป็นองค์กรอิสระที่แท้จริง ) ส่วนระบบสัมปทานคลื่นความถี่นั้นได้เปลี่ยนมาเป็นระบบ ใบอนุญาตแทน
ส่วนคำว่า องค์กรอิสระ นั้นจะต้องสามารถเลี้่ยงตัวเองได้ไม่พึ่งรัฐบาล ในกรณีนี้ กทช. เองได้รับเงินจากค่าธรรมเนียมการจัดสรรคลื่นความถี่จากเอกชนอยู่แล้วครับ ( ในปี ปี 2551 กทช มีรายได้ปีละ 3,774,860,527 บาท ) และคณะกรรมการที่อยู่ภายในจะต้องคัดสรรค์อย่างดีไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคลื่นความถี่ในไทย รัฐและทหารเป็นเจ้าของสัมปทานอยู่แทบทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่ควรมีตัวแทนจากรัฐและทหารเข้ามานั่งเป็นกรรมการด้วยเช่นกัน
ต่อมาเกิดรัฐประหารและกำเนิดรัฐธรรมนูญ 2550 นั้นได้ระบุว่าให้เหลือองค์กรที่ดูแลจัดสรรเพียงหน่วยงานเดียว ทำให้ พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ ข้างต้นนั้นขัดกับ รธน. 50 อยู่ในขณะนี้ที่ระบุว่าต้องมี 2 หน่วยงาน นอกจากนี้ ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องรีบเร่งสร้าง กสทช.ขึ้นมาใหม่ แต่ก็ติดปัญหาทั้งในเรื่องที่ กสช.ยังไม่ได้ตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้
ความเหมือนกันของ รธน 2540 และ รธน 2550 คือการกำหนดให้ความถี่วิทยุเป็นสมบัติของชาติ และต้องใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมมากที่สุด
ส่วนข้อแตกต่างที่สำคัญคือ ฉบับปี 2540 กำหนดให้มีองค์กรอิสระทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม แต่ไม่ได้ระบุจำนวนองค์กรที่ชัดเจน ส่วนฉบับปี 2550 ระบุให้มีองค์กรอิสระเพียง 1 องค์กรเท่านั้น นอกจากนี้ยังให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดการใช้สื่อเพื่อสาธารณะ และให้ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของสื่อได้เพียง 1 ประเภทเท่านั้น
สำหรับองค์กรอิสระใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 คาดกันว่า อาจจะให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) รวมเป็นหน่วยงานเดียวกัน หรือที่เรียกกันว่า กสทช. นั้น แต่ก็ไม่แน่ใจว่า จะจัดตั้งได้เมื่อใด เพราะปัจจุบันยังไม่สามารถจัดตั้ง กสช. ได้ นอกจากนี้ยังกระทบต่อการจัดสรรคลื่นวิทยุด้วย เพราะ กทช. ไม่สามารถจัดสรรคลื่นให้ผู้ประกอบการวิทยุโทรทัศน์ได้ มิฉะนั้นจะผิดกฎหมาย
นอกจากนี้ความพยายามในการตั้ง กสทช ยังติดปัญหาตามที่คุณสุภิญญาได้ tweet มา และคุณ MK ได้รวบรวมไว้เช่นกัน ดังนี้
กระทรวงกลาโหมได้มีการยื่นหนังสือให้ กรรมาธิการชั้นสส. เพิ่มสัดส่วนของผู้แทนความมั่นคงใน กม. แต่ไม่สำเร็จ แต่ในที่สุดมาเปลี่ยนได้ในขั้นวุฒิสภา ประเด็นสำคัญที่วุฒิสภาเปลี่ยนร่าง พรบ.กสทช.คือ 1. เพิ่มจำนวนที่นั่งจาก 11 เป็น 15 2. เพิ่มที่นั่งตัวแทนจากฝ่ายความมั่นคง 3.เพิ่มอายุเป็น 35-70 ประเด็นขัดแย้งจึงกลับมาอยู่เดิมว่า ภาครัฐและกลุ่มทุนที่เป็นเจ้าของสื่อ ควรเข้ามานั่งเป็นกรรมการองค์กรอิสระ หรือ กสทช. เพื่อปฏิรูปสื่อหรือไม่
หลายคนก็อาจงงว่าการเพิ่มตัวแทนฝ่ายความมั่นคงกับราชการมันมีผลประโยชน์ทับซ้อนตรงไหน คำตอบง่ายๆก็คือ Free TV 5,7,9,11 ของเรานั้นเป็นของรัฐและฝ่ายความมั่นคงทั้งนั้นครับ ดังนั้นตามหลักการจึงไม่น่าจะเข้าร่วมกับองค์กรอิสระเพราะจะทำให้องค์กรเกิดความไม่อิสระขึ้นมาทันที ล่าสุดเพิ่งมีกรณีเกิดการต่อต้านขึ้นมาครับ
ช่วงความถี่ 2.3GHZ ในไทย จะเห็นด้านขวาคือทางฝ่ายความมั่นคงใช้อยู่ ไม่มีใครเข้าไปแตะต้องส่วนด้านซ้ายๆ TOT รับหมด

2. Regulator หรือผู้จัดสรรเดิมมีผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างมากกับกฏหมายใหม่
รูปแบบเดิมกับกฏหมายใหม่ยังขัดแย้งกันอยู่ เดิม TOT กับ CAT เป็น regulator ต่อมาเมื่อเกิด องค์กรอิสระอย่าง กทช.ทำหน้าที่นี่แทน TOT กับ CAT จึงกลายเป็น Competitor เหมือนๆกับผู้ให้บริการรายอื่นๆ ดังนั้นหากผู้ให้บริการภาคเอกชนเช่น TRUE และ DTAC ไม่สนใจเทคโนโลยีปัจจุบัน ( ซึ่งยังต้องจ่ายเปอร์เซ็นให้ TOT,CAT อยู่) แต่กลับหันไปใช้ 3G หมด TOT กับ CAT จะขาดรายได้ แทบจะทั้งหมดและอาจถึงขั้น ประกอบกิจการต่อไปได้ยากก็เป็นได้ ซึ่งเดิม TOT ได้เปอร์เซ็นจาก AIS และ CAT ได้เปอร์เซ็นจาก DTAC กับ TRUE อย่างมหาศาล ( พิจารณา องค์กรอย่าง TOT มีพนักงาน 30,000 คนซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายรายเดือนมหาศาลแต่ได้เงินเพียงพอจากการหักจากเอกชนที่ใช้ความถี่ แต่ TRUE มีพนักงานเพียง 3,000 คน ถ้าเทียบกันแล้วแม้ว่าช่วงแรกๆ TRUE จะโดนคอมเม้นท์เรื่อง Performance เยอะแต่ศักยภาพก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนกว่ากันมาก )
ส่วนแบ่งตลาดบริการโทรศัพท์พื้นฐานของ TRUE & TOT ในเขต กรุงเทพฯและปริมณฑล ที่มาของภาพจาก เว็บไซต์กทช
ถ้าคุณเป็นผู้บริหาร TOT และ CAT คุณจะยอมปล่อยให้องค์กรของคุณไม่มีรายได้หรือ ? ลองอ่าน TOT/CAT ค้าน พ.ร.บ. จัดสรรคลื่นความถี่ กลัวรายได้หายนับแสนล้าน

ความถี่ช่วง 2.5 GHz นี้ สามารถใช้ได้ทั้ง Broadcasting และ Telecom ปัจจุบันถูกครอบครองโดย อสมท. และกรมประชาสัมพันธ์ หากต้องการใช้ประโยชน์ต้องรอลุ้น กสทช
ปัญหาของสเป็ค 3G เอง
3G เป็นเทคโนโลยีที่มีความลักลั่นระหว่างการเป็นเทคโนโลยีโทรคมนาคม (ซึ่ง กทช ดูแลอยู่แล้ว ) และวิทยุโทรทัศน์ ( ซึ่งยังไม่มีองค์กรดูแลชัดเจน ) เนื่องจากความเร็วและการกระจายสัญญาณแบบไร้สายทำให้สามารถ Stream รายการในรูปแบบโทรทัศน์ได้เช่นกัน ดังนั้นถ้าแจกคลื่นความถี่ 3G ไปให้คนอื่น อาจมีปัญหาฟ้องร้องกลับมาจาก TOT ว่าทำโดยไม่ผ่านองค์กรอิสระจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ได้ จึงต้องรอ พรบ.กสทช.ข้างต้นผ่านให้ได้


วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาษาไทยน่ารู้

พ่อแม่ไม่มีเงินทองมากองให้
จงตั้งใจพากเพียรเรียนหนังสือ
ใช้วิชาความรู้เป็นคู่มือ
เพื่อยึดถือเป็นเยี่ยงหล่อเลี้ยงกาย
พ่อกับแม่มีแต่จะแก่เฒ่า
จะเลี้ยงเจ้าเรื่อยไปนั้นอย่าหมาย
ใช้วิชาช่วยตนไปจนตาย
ช่วยชาติได้แม่กับพ่อก็ภูมิใจ
           
                   จากครูกาญจนา  แก้วสา

สารรักภาษาไทย

อุปสรรคแค่ไหนเจ้าอย่าหวั่น
คืนและวันจะโหดร้ายสักเพียงไหน
ร้อยและพันปัญหาจะฝ่าไป
ยาจะคอยยิ้มให้ที่ปลายทาง